
แม้ว่า โครงการการวิจัยปลอดจากโรคไวรัสตับอักเสบซี (ซี-ฟรี) สำหรับการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงนั้น จะดำเนินการโดยความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมเป็นหลัก แต่เราก็ภูมิใจและยินดีที่ได้ดำเนินการโครงการ C-FREE ร่วมกับศูนย์สุขภาพของรัฐ 2 แห่งของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี และ คลินิกก้าวใหม่พลัส ลาดพร้าว
ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี สำนักอนามัย เป็นหน่วยงานหลักของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีหน้าที่ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ และเป็นองค์กรพันธมิตรร่วมดำเนินโครงการวิจัย C-FREE-CSEA กับ มูลนิธิดรีมลอปเม้นท์
ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนแห่งนี้มีเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คน ได้แก่ คุณนี ผุดผ่อง เป็นพยาบาลวิจัย และ คุณสหัสวรรษ ยิ้มสุด เป็นผู้ช่วยวิจัย
"ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนซี-ฟรี ที่นี่ มีผู้เข้ามารับบริการที่มีความหลากหลายและมีจำนวนมาก มีทั้งติดเชื้อเอชไอวี กลุ่ม MSM (กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย) โดยนอกจากคนไทยแล้ว ยังมีจำนวนกว่าครึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียนเข้ามารับบริการด้วย เพียงแค่สามารถระบุชื่อตัวเองก็สามารถรับบริการได้"
"คนไข้โดยเฉพาะที่เป็นแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์การได้รับบริการทางสุขภาพใด ๆ พวกเขาจึงมีความรู้สึกที่ดีใจมากที่ได้เข้าร่วมและได้รับการรักษากับโครงการเรา จึงให้ความร่วมมือเต็มที่เลยค่ะ" คุณนี ผุดผ่อง กล่าว



คลินิกก้าวใหม่พลัส ลาดพร้าว ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในองค์กรพันธมิตรที่ร่วมดำเนินโครงการวิจัย C-FREE-CSEA โดยมี คุณศิรินทิพย์ พิยาราษฎร์ เป็นพยาบาลวิจัย และ คุณณัฐญา แท่นทิพย์ เป็นผู้ช่วยวิจัย ซึ่งอยู่ประจำที่คลินิกก้าวใหม่พลัส ลาดพร้าว และคอยให้บริการในโครงการ C-FREE-CSEA
“ปัจจุบัน เรามีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 150-160 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและมีการใช้สารเสพติด รวมถึงแรงงานต่างชาติบางส่วน เราทำงานร่วมกับคลินิกก้าวใหม่พลัส ลาดพร้าว และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย โดยเราจะได้รับรายชื่อผู้ที่เข้าเกณฑ์เข้าร่วมโครงการ จากนั้นจะทำการติดต่อและจัดคิวให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้ามารับบริการการตรวจคัดกรองตามลำดับ
ที่คลินิกก้าวใหม่พลัส ลาดพร้าว เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความเอาใจใส่และให้ความช่วยเหลืออย่างดีเยี่ยมในการประสานงานกับผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ อาจารย์แพทย์ยังมีความเมตตา โดยจะตรวจรักษาผู้เข้าร่วมโครงการในวันจันทร์ถึงพฤหัสบดีช่วงเช้า และคลินิกจะเปิดให้บริการตรวจสุขภาพ จ่ายยา และให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกวันพุธ” คุณศิรินทิพย์ พิยาราษฎร์ กล่าว
“โครงการของเราไม่มีการแบ่งแยก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือเพศใด เรามุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและการเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้ใช้สารเสพติดก็สามารถได้รับการรักษาเช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมโครงการอื่น ๆ เราเข้าใจว่าหลายคนมีปัจจัยชีวิตที่ซับซ้อน ซึ่งผลักดันให้พวกเขาเข้าสู่วงจรการใช้สารเสพติด ดังนั้น หากเราสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าถึงและได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน เราก็จะมีส่วนร่วมในการลดปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญ” คุณณัฐญา แท่นทิพย์ กล่าวเสริม



Kommentare