top of page

เกี่ยวกับเรา

ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดสารเสพติดเข้าสู่ร่างกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบซีมากที่สุด ในประเทศไทยมีผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 80-90 ของผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในขณะดียวกัน กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและบุคคลข้ามเพศ ก็เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเช่นกัน

 

ปัจจุบันโรคไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการให้บริการในภาคส่วนของรัฐที่จะให้บริการรักษาในผู้ป่วยที่เลิกสารเสพติดแล้วเท่านั้น ทำให้การเข้าถึงการรักษาเป็นไปได้ยาก รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ยังใช้สารเสพติดมักจะถูกปฏิเสธการรักษา

โครงการการวิจัยปลอดจากโรคไวรัสตับอักเสบซี (ซีฟรี) เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ให้บริการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด ในศูนย์บริการสุขภาพชุมชน โดยรักษาด้วยยาสูตรผสมคือ โซฟอสบูเวียร์/เรวิดาสเวียร์ (Sofosbuvir/Ravidasvir) ที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูง โครงการซีฟรีตั้งอยู่ใน ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน ของเครือข่ายพันธมิตรของโครงการ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลนิธิรักษ์ไทย เครือข่ายผู้ใช้ยาประเทศไทย APASS กลุ่มคนทำงานดูแลผู้ใช้สารเสพติดจังหวัดสงขลา กลุ่มมอบความหวัง แอ๊คทีม และ กลุ่ม ฅ ฅน เพื่อการเปลี่ยนแปลง

นอกเหนือจากการให้บริการตรวจและรักษา ไวรัสตับอักเสบซี แล้ว ซีฟรียังให้บริการตรวจ ไวรัสตับอักเสบบี เอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรคแฝง
 โดยพยาบาลวิจัยผู้ที่ได้รับการอบรมเฉพาะทาง หากพบว่ามีผลการตรวจสารภูมิต้านต่อเชื้อเป็นบวก จะได้รับการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลหรือศูนย์วิจัยที่เป็นเครือข่ายของโครงการเพื่อเข้ารับการรักษา

 

สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์การรักษา ไวรัสตับอักเสบซี แพทย์วิจัยจะเริ่มให้การรักษาด้วยยา โซฟอสบูเวียร์/เรวิดาสเวียร์ (Sofosbuvir/Ravidasvir) ที่ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่เริ่มรักษาด้วยยาแล้วจะมีนัดทุก ๆ 3 เดือน เพื่อตรวจประเมินการติดเชื้อซ้ำ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อซ้ำก็จะได้รับการรักษาซ้ำอีกด้วยสูตรยาเดิม

- รายงาน -

การเข้าถึงการรักษาและการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี ในกลุ่มผู้ใช้เข็มซ้ำ ๆ (กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด) : คนส่วนใหญ่ล้มเหลวโดยเฉพาะจากผลกระทบที่มากับโรค

ผลการดำเนินงาน

นับจนถึงเดือนมิถุนายน 2567

Untitled-9_edited.png

4,787

Untitled-9_edited.png

1,611

Untitled-9_edited.png

95%

จำนวนคน ที่สมัคร
เข้าร่วมโครงการ

จำนวนคน ที่เข้ารับ
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

เปอร์เซ็นต์ของคนไข้
ที่ได้รับรักษาหาย

พื้นที่การทำงานของโครงการ

  1. เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

  2. ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี กรุงเทพมหานคร

  3. คลินิกก้าวใหม่ ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

  4. สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ

  5. จังหวัดเชียงใหม่

  6. จังหวัดเชียงราย

  7. อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

  8. จังหวัดขอนแก่น

  9. อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

  10. อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส

  11. จังหวัดปัตตานี

C-FREE-Map.png
house-2-512.png
running-man-512.png
running-man-512.png

โครงการวิจัยปลอดจากโรคไวรัสตับอักเสบซี ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี อ้างอิงจากจำนวนผู้เข้ารับบริการในศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

hospital-512.png
arrow-213-512.png
arrow-213-512_edited.png
arrow-213-512_edited.png
arrow-213-512_edited_edited.png

ผู้เข้ารับการรักษาเดินทางจากหลากหลายจังหวัดเพื่อเข้ารับการรักษาในโครงการวิจัยปลอดจากโรคไวรัสตับอักเสบซี

pill-2-512.png
ok-256.png

ผู้เข้ารับการรักษาทุกคนที่เข้ารับการรักษาอย่างเต็มรูปแบบ ได้รับการยืนยันว่าหายขาดจากโรคไวรัสตับอักเสบซี

SC-Meeting-2July2024-02.jpg
DSC04604.JPG

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. องค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในการรักษาไวรัสตับอักเสบซีในโครงการวิจัยปลอดจากโรคไวรัสตับอักเสบซีให้แก่ผู้ใช้สารเสพติดและคู่ในชุมชน

  2. พยาบาลวิจัยในศูนย์บริการสุขภาพชุมชน ให้คำปรึกษาและตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสตับอักเสบบี เอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรคแฝง

  3. ผู้ที่ได้รับการยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและติดตามการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีที่คลีนิคในศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

  4. เมื่อกินยาต่อเนื่องจนครบแล้ว หลังจากนั้นอีก 12 สัปดาห์พยาบาลวิจัยตรวจยืนยันผลการรักษาว่าปลอดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีด้วยการตรวจหาปริมาณไวรัส (ไวรัลโหลด) เพื่อยืนยันผลการรักษาที่ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

Our Mission

แผนดำเนินงานในอนาคต

1.png

เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้ป่วยที่มีความต้องการที่จะรับการรักษาที่ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนมากขึ้น

2.png

เปิดศูนย์บริการเพิ่มเติมแห่งใหม่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 

Pattani004.jpg
bottom of page